- ผู้ดูแลระบบ
- เกี่ยวกับเรา
- Hits: 2242
โครงสร้างบุคลากรภาควิชาคณิตศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ สิงหันต์ หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ |
|
ผศ.กนกวรรณ ฐิตินิรันดร์ |
|
|
|
อาจารย์อนันต์ เหลืองนภาเลิศ |
อ.ดร.ทิพย์ภาภรณ์ อึ้งรัศมี |
|
|
อาจารย์ ดร.อัตถสิทธิ์ สินนา |
อาจารย์ ดร.สุกิจ แสงวิโรจนพัฒน์ |
|
|
อาจารย์ ดร.วิทวัส พันธวิมล |
อาจารย์ปรันต์ จันทนนท์ (ลาศึกษาต่อ 2565 - ) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางใส เที่ยงตรง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรณัฐ ชูชาติ |
|
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณวรรณ บริพันธ์ |
อาจารย์ ดร.สมิทธ์ เอี่ยมพิบูลย์วัฒนา |
บุคลากรสายสนับสนุน | |
นางสาวรัตนาภรณ์ ศรีนิ่ม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ |
นายชาญชัย เหล่าสิงห์ ผู้ปฏิบัติงานบริหาร |
ติดต่อภาควิชาคณิตศาสตร์
ห้องธุรการภาควิชาคณิตศาสตร์ อาคาร SCO ชั้น 1
โทรศัพท์ : 023108388
โทรสาร : 023108388
e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ภาควิชาคณิตศาสตร์ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี พ.ศ.2514 โดยเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะศึกษาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้อนุมัติให้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ภาควิชา คือ คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา โดยในตอนแรกภาควิชาคณิตศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนเพียงวิชาคณิตศาสตร์เพียงสาขาเดียว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2533 ทางภาควิชาคณิตศาสตร์เห็นว่าพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ทางภาควิชาคณิตศาสตร์จึงเห็นควรให้เปิดสอนเพิ่มอีกหนึ่งสาขาคือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ทางด้านวิธีจัดหมู่และการหาค่าเหมาะที่สุด หลังจากที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตเป็นจำนวน1,134คน ประกอบกับความพร้อมของบุคลากรของภาคฯจึงเสนอเปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตใน พ.ศ.2539 เพื่อสนองความต้องการของบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันอื่นๆซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี
บทบาทหน้าที่
คณิตศาสตร์เป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ในกระบวนการศึกษาของมนุษย์ศาสตร์สาขานี้เกี่ยวข้องกับความคิดของมนุษย์ ความคิดที่ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล ศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีหลักการ โดยที่ศาสตร์นี้มิได้มุ่งหาคำตอบของปัญหาเพียงประการเดียวเท่านั้นแต่ยังต้องการวิเคราะห์ไปถึงแก่นของปัญหาและสามารถเน้นให้เห็นชัดว่าเพราะเหตุใดคำตอบจึงมีแบบอย่างดังที่ปรากฏในกระบวนการศึกษาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ระดับต้น จะเห็นได้ว่าผลและหลักเกณฑ์จากศาสตร์นี้ได้ถูกถ่ายทอดให้ผู้เรียนก่อน ก่อให้เกิดความคุ้นเคยและมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ความคุ้นเคยนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์เสริมปัญญาที่พัฒนาขึ้น ที่มาของความคิดทางคณิตศาสตร์มาจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ความคิดในเรื่องตัวเลข รูปร่างการจัดหมวดหมู่ การเคลื่อนที่และความเป็นไปได้ จากความคิดเหล่านี้ประกอบกับเชาว์ปัญญาของมนุษย์จึงมีการพัฒนามาโดยลำดับ จนกระทั้งปัจจุบันมีแขนงวิชาต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์จำกัด คณิตศาสตร์ เต็มหน่วย พีชคณิตนามธรรม การวิเคราะห์ โทโพโลยี เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ และวิชาอื่นๆในสาขาวิทยาศาสตร์เชิงคณิตศาสตร์ โดยธรรมชาติและที่มาของคณิตศาสตร์สามารถนำผล หลักเกณฑ์ ทฤษฎี และระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์มาใช้คำนวณวิเคราะห์ระบบในวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาคุณสมบัติของระบบวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นที่สามารถจัดเป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์ได้ นอกจากนี้ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์จำกัด และคณิตศาสตร์เต็มหน่วยยังเป็นพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉะนั้นคณิตศาสตร์จึงมีหน้าที่เป็นเครื่องมือและเป็นพื้นฐานสำคัญในแขนงวิชาอื่น
โดยสรุปภาคคณิตศาสตร์ทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
1. ให้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์แขนงอื่นๆ
2. ให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเบื้องลึก